วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2552

วิธีสร้างblogแบบง่ายๆ

1.สมัคร email ของ gmail ก่อนนะคะ
2.เข้าไปที่เว็บ http://www.blogger.com/
3.คลิกที่เมนู


4.คลิกบทความใหม่




5.ใส่ชื่อเรื่อง บทความที่ต้องการ ป้ายกำกับบทความ จากนั้นคลิเผยแพร่เลยค่ะ



6.เมื่อเผยแพร่บทความแล้วก็จะได้บทความบทหน้าblogของเราแบบนี้ค่ะ



7.เมื่อเราต้องการจะแก้ไขบทความให้คลิกตรงแก้ไขบทความ แล้วเลือกบทความที่ต้องการจะแก้ไขคะ

8.เมื่อแก้ไขบทความตามที่ต้องการแล้วจากนั้นคลิกเผยแพร่บทความ แค่นี้ก็เป็นอันเสร็จค่ะ ส่วนบทความที่ถูกเผยแพร่ก็จะเป็นบทความใหม่ที่เราแก้ไขแล้วค่ะ
เพื่อนๆลองไปสร้างblogของเพื่อนๆดูนะคะ รับรองว่าสวยถูกใจเพื่อนๆทุกคนแน่นอนค่ะ









วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552

เกาะ บาหลี

เกาะ บาหลี
เกาะบาหลี เกาะสวรรค์ของนักเดินทาง



เกาะบาหลี
บาหลีแบ่งเขตการปกครองเป็น 8 เขต (Regency) คือ1.เขตบาดุง- Badung2.เขตบูเลเล็ง-Buleleng3.เขตเกียนยาร์-Gianyar4.เขตทาบานัน-Tabanan5.เขตการังกาเสม-Karanggasem6.เขตกลุงกุง-Klungkung7.เขตเจ็มบรานา-Jembrana8.เขตบังลี- Bangli
แหล่งท่องเที่ยวเขตบาดุง(Badung)• เป็นที่ตั้งของ เมืองหลวงคือเมืองเดนปาซาร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของความเจริญรุ่งเรืองในบาหลี รวมทั้งเป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติ บริเวณนี้มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นเนื่องจากเป็นเมืองท่องเที่ยวมีหาดทรายสวยงาม จึงเต็มไปด้วยรีสอร์ตและที่พักจำนวนมาก • สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ • เดนปาซาร์ (Denpasar) บริเวณนี้มีประวัติศาสตร์มาช้านานตั้งแต่สมัยยุคทองของบาหลีที่มีการเดินเรือค้าขายกับชาติตะวันตก ทำให้บริเวณทางภาคใต้นี้มีการพัฒนากันอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 1958 เมืองเดนปาซาร์จึงได้กลายเป็นเมืองหลวงของเกาะมาจนทุกวันนี้ เดนปาซาร์เป็นเมืองที่มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย มีทั้งวัฒนธรรมเก่าแก่และความทันสมัยผสมผสานกัน อาทิ• ปูปูตันสแควร์ (Puputan Square) จุดศูนย์กลางของเมือง ซึ่งเป็นสวนสาธารณะที่ผู้คนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ไปจนถึงผู้เฒ่าผู้แก่จะไปหาความสงบร่มรื่นจากต้นไม้เขียวขจีและดอกไม้แสนสวย เพื่อหลบจากความวุ่นวายของชีวิตในเมือง และสาเหตุที่ได้ชื่อปูปูตันสแควร์เพราะเป็นจุดที่ราชวงศ์เดนปาซาร์ออกมาทำการฆ่าตัวตายหมู่เนื่องจากไม่ยอมตกอยู่ในอาณัติของพวกดัตช์ • พิพิธภัณฑ์บาหลี (Bali Museum) อยู่ไม่ห่างจากปูปูตันสแควร์เท่าไร เป็นสถานที่จัดแสดงประวัติศาสตร์วัฒนธรรมของเกาะบาหลีตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เปิดให้เข้าชม วันอังคาร-พฤหัสบดี เวลา 8.00-14.00 น. วันศุกร์ 8.00-11.00 น. วันเสาร์ 8.00-12.30 น. ค่าเช้าชมสำหรับผู้ใหญ่คนละ 750 รูเปียห์• ปุระจากัตนาตา (Pura Jagatnata) เป็นวัดที่อยู่ในตัวเมือง แต่มีความงดงามเต็มไปด้วยต้นไม้นานาชนิดสร้างขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1953 ตกแต่งด้วยหินแกะสลักและกำแพงที่สลักเสลาเป็นเรื่องรามายณะและมหาภารตะ เนื่องจากวัดนี้เป็นวัดประจำรัฐจึงเปิดให้เข้าชมได้ 2 ครั้งต่อเดือน คือวันขึ้น 15 ค่ำ และแรม 15 ค่ำ• ตลาดบาดุง (Pasar Badung) ตลาดเก่าแก่แห่งหนึ่งของบาหลีทำการค้ากันตลอด 24 ชั่วโมง เป็นที่ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าและคนซื้อจากทั่วบาหลีมาจับจ่ายสินค้า นอกจากจะมีอาหารสดและอาหารแห้งแล้ว ยังมีเสื้อผ้าขายด้วย • ปุระมะอาปาหิต (Pura Maophahit) เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ค่อนข้างยาวนานตั้งแต้สมัยกษัตริย์มัชปาหิต (majapahit) เชื่อกันว่าส่วนที่เก่าแก่ที่สุดของวัดนั้นถูกนำมาจากชาวชวาตะวันออก สร้างขึ้นตามสถาปัตยกรรมสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 14 ส่วนมากทำด้วยอิฐปัจจุบันได้ชำรุดไปมากแล้ว• ศูนย์วัฒนธรรมทามันบูดายา (Taman Budaya Centre) เป็นที่จัดแสดง ศิลปะภาพวาดของบาหลี รวมถึงงานแกะสลักหินและไม้ หน้ากาก ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและทุกปีช่วงกลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม จะเป็นที่จัดงานบาหลีอาร์ตเฟสติวัลที่มีการแสดงงานศิลปะของบาหลีทุกแขนง• กูต้า เลเกียน เซมินยัก (Kuta Legian Seminyak) • ห่างจากเดนปาซาร์มาทางตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นชายฝั่งทะเลที่สวยงามเต็มไปด้วยร้านค้า ร้านอาหาร พร้อมด้วยรีสอร์ตจำนวนมากให้เลือกเข้าพักตามความพอใจ นักท่องเที่ยวที่มายังบริเวณนี้ก็เพื่อมาชมความงดงามของชายหาดสีทองที่มีความยาวกว่า 8 กิโลเมตร• หาดกูต้า เป็นชายหาดที่มีกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย เนื่องจากมีบาร์ ร้านอาหาร คลับ และร้านค้าอยู่แทบทุกตารางนิ้ว มีชายหาดที่ขาวสะอาดซึ่งจะเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยว และมีการเล่นโต้คลื่น • หาดเลเกียนและหาดเซมิยัก ซึ่งเป็นชายหาดที่ต่อเนื่องกัน เป็นชายหาดที่สงบกว่า มีโรงแรมและรีสอร์ตที่ขึ้นชื่อมากมาย นักท่องเที่ยวมักจะนิยมมานอนอาบแดด • ซานูร์ (Sanur) ซานูร์ เป็นเขตที่มีหาดทรายยาวที่เรียงรายไปด้วยต้นมะพร้าวและโรงแรมระดับหรู ทำให้มีชื่อเสียงในฐานะรีสอร์ตชายหาดแห่งแรกของบาหลี สิ่งที่ดึงดูดใจของซานูร์คือความสงบร่มรื่นและเป็นรีสอร์ตที่เหมาะสำหรับครอบครัว หรือนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสความงามของชายหาดและวิถีชีวิตของชาวบาหลี ชายหาดแห่งนี้ค่อนข้างสงบกว่าที่กูต้า • นูซาดูอา (Nusa Dua) เป็นชายหาดอีกแห่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ที่แห่งนี้มีโรงแรมระดับนานาชาติห้าดาวอยู่หลายแห่ง นอกจากหาดทรายขาวสะอาด น้ำใส และต้นปาล์มที่เรียงรายขนานกับชายหาดแล้วยังมีแนวปะการัง ที่เหมาะกับการดำน้ำและเล่นกีฬาทางน้ำเป็นอย่างดีด้วย ใกล้นูซาดูอามีวัดสำคัญคือ ปุระสาเกนัน (Pura Sakenan) ซึ่งเป็นวัดที่ชาวบาหลีจะมาไหว้สักการะกันในช่วงวันกุนิงกัน• ปุราอูลูวาตู (Pura Uluwatu) เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนผาเหนือฝั่งทะเล ไม่ไกลจากสนามบินเท่าไหร่นักเป็นสถานที่ที่มีทิวทัศน์สวยงามมากโดยเฉพาะในยามอาทิตย์อัสดง• เม็งวี (Mengwi) ใกล้หมู่บ้านเม็งวีมีวัดที่สวยงามมากอยู่แห่งหนึ่งคือ ปุระทามันอายุน (Pura Taman Ayun) ซึ่งเคยเป็นวังของรายาแห่งเม็งวีมาก่อน สร้างขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1634 ภายในบริเวณวัดจัดไว้สวยงามด้วยสวนและคูน้ำ มีศาลเล็ก ๆ ซึ่งมีหลังคาแบบเมรุหลาย ๆ ชั้นตั้งเรียงรายขึ้นไปให้ภาพที่งดงามยิ่งนัก

แหล่งท่องเที่ยวเขตบูเลเล็ง (Buleleng) • บูเลเล็ง อยู่ทางเหนือสุดของ มีเมืองหลวงคือสิงคราชา (Singaraja) ซึ่งเคยเป็นเมื่องหลวงของบาหลีสมัยที่ยังอยู่ภายใต้การปกครองของดัตช์ และเป็นเมืองที่มีขนาดใหญเป็นอับดับ 2 รองจากเดนปาซาร์ ในปัจจุบันบริเวณภูมิภาคนี้จึงเป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรมที่หลากหลาย ผู้คนในเมืองนี้มีทั้งที่เป็นชาวพื้นเมืองบาหลี ชาวจีน และชาวมุสลิม มีธรรมชาติที่งดงามมากมาย เป็นแหล่งผลิตกาแฟที่ใหญ่ที่สุดและเป็นเขตที่มีการปลูกองุ่นบาหลีสำหรับผลิตไวน์ด้วย • สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ• หมู่บ้านเบระตัน (Beratan) เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในด้านการทำเครื่องเงินโดยเฉพาะของใช้ชิ้นใหญ่ ๆ เช่น แจกัน ถาด และเครื่องใช้ในครัวเรือนต่าง ๆ• น้ำตกกิตกิต (Gitgit waterfall) น้ำตกที่สูงที่สุดในประเทศบาหลี เป็นน้ำตกที่มีความสวยงามและเงียบสงบมากเพราะชาวบาหลีชื่อว่าหากหนุ่มสาวคู่รักมาเที่ยวที่นี่ด้วยกันจะทำให้ต้องเลิกรากันไป จึงไม่มีหนุ่มสาวควงคู่กันมาเที่ยว • ปุระเบกิ (Pura Begi) วัดแห่งหมู่บ้านสังสิต (Sangsit) เป็นวัดที่ต่างจากวัดอื่นๆ ตรงที่ สร้างจากหินทรายสีชมพู ในขณะที่วัดอื่น ๆ จะสร้างจากหินภูเขาไฟสีเทา• ปุระดาเล็มจาการากา (Pura Dalem Jagaraga) เป็นวัดที่มีภาพเกาะสลักที่งดงามเกี่ยวกับพระศิวะอยู่ที่ประตูทางเข้าด้านหน้า• หาดโลวิน่า (lovina) เป็นชายหาดที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่งของบาหลี หาดทรายเป็นสีดำแปลกตา มีความยาวประมาณ 8 กิโลเมตร มีรีสอร์ตตั้งอยู่ชายทะเลจำนวนมาก



http://th.upload.sanook.com/A0/5e2714efeae0e69b4c6d03068d5dd3d4

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2552

อาหารไทย - อาหารสมุนไพรเพื่อสุขภาพ


อาหารไทยมีลักษณะโดดเด่นเป็นพิเศษในเรื่องการผสมผสาน ทางคุณค่าอาหารและสรรพคุณทางยา เพื่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพ สูงสุดทั้งในแง่การป้องกัน การบำรุงและการรักษา เครื่องปรุงอาหารไทยที่สะท้อนให้เห็นสรรพคุณทางยาและสมุนไพร มีหลายอย่างเช่น
กระเพรา ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ,ขับลม,ขับเสมหะ,บำรุงธาตุ เพิ่มน้ำนมในหญิงหลังคลอด


กระชาย แก้บิด,แก้ปวดท้อง,แก้ท้องร่วง,บำรุงหัวใจ














กระเทียม แก้ไขมันอุดตันในเส้นเลือด, ลดความดันโลหิตสูง,ขับลม ขับเสมหะ,แก้จุกเสียด,ขับพยาธิเส้นด้าย









ขิง แก้ขับลม, ขับเสมหะ, แก้จุกเสียดแน่นท้อง, แก้คลื่นไส้อาเจียน ขับเหงื่อ ขยายหลอดเลือดใต้ผิวหนัง











ข่า ช่วยแก้ลมพิษ, แก้บิด, ช่วยย่อยอาหาร,แก้ฟกช้ำ









ตะไคร้ แก้ขับลม, ท้องอืด, แน่นจุกเสียด, ขับปัสสาวะแก้นิ่ว ผักชี ขับลม, แก้ไข้, แก้ไอ, บำรุงธาตุ












พริก แก้บิด, กระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารทำให้เจริญอาหาร, ลดอาการอักเสบ, ละลายลิ่มเลือด, ป้องกันมะเร็งในลำไส้








ใบมะกรูด ขับลมในลำไส้, แก้จุกเสียด













มะนาว แก้ไอ, แก้เจ็บคอ, ขับเสมหะ, แก้เหงือกบวมและเลือดออก ตามไรฟัน

สมุนไพรไทย





สมุนไพร หมายถึง พืชที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่าง ๆ การใช้สมุนไพรสำหรับรักษาโรค หรืออาการเจ็บป่วยต่างๆ นี้ จะต้องนำเอาสมุนไพรตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปมาผสมรวมกันซึ่งจะเรียกว่า "ยา" ในตำรับยา นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังอาจประกอบด้วยสัตว์และแร่ธาตุอีกด้วย เราเรียกพืช สัตว์ หรือแร่ธาตุที่เป็นส่วนประกอบของยานี้ว่า "เภสัชวัตถุ"พืชสมุนไพรบางชนิด เช่น เร่ว กระวาน กานพลู และจันทน์เทศ เป็นต้น เป็นพืชที่มีกลิ่นหอมและมีรสเผ็ดร้อน ใช้เป็นยาสำหรับขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ พืชเหล่านี้ถ้านำมาปรุงอาหารเราจะเรียกว่า "เครื่องเทศ" ในพระราชบัญญัติยาฉบับที่ 3 ปีพุทธศักราช 2522 ได้แบ่งยาที่ได้จากเภสัชวัตถุนี้ไว้เป็น 2 ประเภทคือ


1. ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่ใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณหรือในการบำบัดโรคของสัตว์ ซึ่งมีปรากฎอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีประกาศให้เป็นยาแผนโบราณ หรือได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ

2. ยาสมุนไพร หมายถึงยาที่ได้จากพืชสัตว์แร่ธาตุที่ยังมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพสมุนไพรนอกจากจะใช้เป็นยาแล้ว ยังใช้ประโยชน์เป็นอาหาร ใช้เตรียมเป็นเครื่องดื่ม ใช้เป็นอาหารเสริม เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง ใช้แต่งกลิ่น แต่งสีอาหารและยา ตลอดจนใช้เป็นยาฆ่าแมลงอีกด้วย ในทางตรงกันข้าม มีสมุนไพรจำนวนไม่น้อยที่มีพิษ ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีหรือใช้เกินขนาดจะมีพิษถึงตายได้ ดังนั้นการใช้สมุนไพรจึงควรใช้ด้วยความระมัดระวังและใช้อย่างถูกต้อง ปัจจุบันมีการตื่นตัวในการนำสมุนไพรมาใช้พัฒนาประเทศมากขึ้น สมุนไพรเป็นส่วนหนึ่งในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนิน โครงการ สมุนไพรกับสาธารณสุขมูลฐาน โดยเน้นการนำสมุนไพรมาใช้บำบัดรักษาโรคใน สถานบริการสาธารณสุขของรัฐมากขึ้น และ ส่งเสริมให้ปลูกสมุนไพรเพื่อใช้ภายในหมู่บ้านเป็นการสนับสนุนให้มีการใช้สมุนไพรมากยิ่งขึ้น อันเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยประเทศชาติประหยัดเงินตราในการสั่งซื้อยาสำเร็จรูปจากต่างประเทศได้ปีละเป็นจำนวนมาก
สมุนไพร หมายถึง “พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา” ส่วน ยาสมุนไพร หมายถึง “ยาที่ได้จากส่วนของพืช สัตว์ และแร่ ซึ่งยังมิได้ผสมปรุง หรือ แปรสภาพ” ส่วนการนำมาใช้ อาจดัดแปลงรูปลักษณะของสมุนไพรให้ใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น นำมาหั่นให้มีขนาดเล็กลง หรือ นำมาบดเป็นผงเป็นต้นมีแต่พืชเพียงอย่างเดียวหามิได้เพราะยังมีสัตว์และแร่ธาตุอื่นๆอีกสมุนไพร ที่เป็นสัตว์ได้แก่ เขา หนัง กระดูก ดี หรือเป็นสัตว์ทั้งตัวก็มี เช่น ตุ๊กแกไส้เดือน ม้าน้ำ ฯลฯ
"พืชสมุนไพร" นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมายซึ่ง เชื่อกันอีกด้วยว่า ต้นพืชต่างๆ ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณค่าทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น"พืชสมุนไพร" หรือวัตถุธาตุนี้ หรือตัวยาสมุนไพรนี้ แบ่งออกเป็น 5 ประการ1. รูป ได้แก่ ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ แก่นไม้ กระพี้ไม้ รากไม้ เมล็ด2. สี มองแล้วเห็นว่าเป็นสีเขียวใบไม้ สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีม่วง สีน้ำตาล สีดำ3. กลิ่น ให้รู้ว่ามรกลิ่น หอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร4. รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสหวาน รสเปรี้ยว รสเย็น5. ชื่อ ต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้นๆ ให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร ข่า เป็นอย่างไร ใบขี้เหล็กเป็นอย่างไร
ปัจจุบันมีผู้พยายามศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนายาสมุนไพรให้สามารถนำมาใช้ในรูปแบบที่สะดวกยิ่งขึ้น เช่น นำมาบดเป็นผงบรรจุแคปซูล ตอกเป็นยาเม็ด เตรียมเป็นครีมหรือยาขี้ผึ้งเพื่อใช้ทาภายนอก เป็นต้น ในการศึกษาวิจัยเพื่อนำสมุนไพรมาใช้เป็นยาแผนปัจจุบันนั้น ได้มีการวิจัยอย่างกว้างขวาง โดยพยายามสกัดสารสำคัญจากสมุนไพรเพื่อให้ได้สารที่บริสุทธิ์ ศึกษาคุณสมบัติทางด้านเคมี ฟิสิกส์ของสารเพื่อให้ทราบว่าเป็นสารชนิดใด ตรวจสอบฤทธิ์ด้านเภสัชวิทยาในสัตว์ทดลองเพื่อดูให้ได้ผลดีในการรักษาโรคหรือไม่เพียงใด ศึกษาความเป็นพิษและผลข้างเคียง เมื่อพบว่าสารชนิดใดให้ผลในการรักษาที่ดี โดยไม่มีพิษหรือมีพิษข้างเคียงน้อยจึงนำสารนั้นมาเตรียมเป็นยารูปแบบที่เหมาะสมเพื่อทดลองใช้ต่อไป
ลักษณะของพืชสมุนไพร
"พืชสมุนไพร" โดยทั่วไปนั้น แบ่งออกเป็น 5 ส่วนสำคัญด้วยกัน คือ1. ราก2. ลำต้น3. ใบ4. ดอก5. ผล
"พืชสมุนไพร" เหล่านี้มีลักษณะลำต้น ยอด ใบ ดอก ที่แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ แต่ส่วนต่างๆ ก็ทำหน้าที่เช่นเดียวกัน เช่นรากก็ทำหน้าที่ดูดอาหาร มาเลี้ยงลำต้นกิ่งก้านต่างๆและใบกับส่วนต่างๆนั่นเองใบก็ทำหน้าที่ปรุงอาหารดูดออกซิเจน คายคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ดอก ผล เมล็ด ก็ทำหน้าที่สืบพันธุ์กันต่อไป เพื่อทำให้พืชพันธุ์นี้แพร่กระจายออกไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด
ส่วนต่างๆของพืชที่ใช้เป็นพืชสมุนไพร


1. ราก รากของพืชมีมากมายหลายชนิดเอามาเป็นยาสมุนไพรได้อย่างดี เช่นกระชายขมิ้นชัน ขิง ข่า เร่ว ขมิ้นอ้อย เป็นต้น รูปร่างและลักษณะของราก แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ 1.1 รากแก้ว ต้นพืชมากมายหลายชนิดมีรากแก้วอยู่นับ ว่าเป็นรากที่สำคัญมากงอกออกจาลำต้นส่วนปลายรูปร่างยาวใหญ่ เป็นรูปกรวยด้านข้างของรากแก้วจะแตกแยกออกเป็นรากเล็กรากน้อยและ รากฝอยออกมาเป็นจำนวนมากเพื่อทำการดูดซึมอาหารในดินไปบำรุงเลี้ยงส่วนต่างๆของต้นพืชที่มีรากแก้วได้แก่ ต้นขี้เหล็ก ต้นคูน เป็นต้น 1.2 รากฝอย รากฝอยเป็นส่วนที่งอกมาจากลำต้นของพืชที่ส่วนปลายงอกออกมาเป็นรากฝอยจำนวนมากลักษณะรากจะกลมยาวมีขนาดเท่าๆกันต้นพืชที่มีใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีรากฝอย เช่น หญ้าคา ตะไคร้ เป็นต้น


2. ลำต้น นับว่าเป็นโครงสร้างที่สำคัญของต้นพืชทั้งหงายที่มีอยู่สามารถค้ำยันเอาไว้ได้ไม่ให้โค่นล้มลงโดยปกติแล้วลำต้นจะอยู่ บนดินแต่บางส่วนจะอยู่ใต้ดินพอสมควร รูปร่างของลำต้นนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ ตา ข้อ ปล้อง บริเวณเหล่านี้จะมีกิ่งก้าน ใบดอกเกิดขึ้นอีกด้วยซึ่งจะทำให้พืช มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปชนิดของลำต้นพืช แบ่งตามลักษณะภายนอกของลำต้นได้เป็น1. ประเภทไม้ยืนต้น2. ประเภทไม้พุ่ม3. ประเภทหญ้า4. ประเภทไม้เลื้อย


3. ใบ ใบเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของต้นพืชทั่วไป มีหน้าที่ทำการสังเคราะห์แสง ผลิตอาหารและ เป็นส่วนที่แลกเปลี่ยนน้ำ และอากาศให้ต้นพืชใบเกิดจากการงอกของกิ่งและตาใบไม้โดยทั่วไปจะมีสีเขียว (สีเขียวเกิดจากสารที่มีชื่อว่า"คอลโรฟิลล์"อยู่ในใบของพืช)ใบของพืชหลายชนิดใช้เป็นยาสมุนไพรได้ดีมาก รูปร่างและลักษณะของใบนั้น ใบที่สมบูรณ์มีส่วนประกอบรวม 3 ส่วนด้วยกันคือ1. ตัวใบ 2. ก้านใบ 3. หูใบ ชนิดของใบ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ1. ชนิดใบเลี้ยงเดี่ยว หมายถึงก้านใบอันหนึ่ง มีเพียงใบเดียว เช่น กานพลู ขลู่ ยอ กระวาน 2. ชนิดใบประกอบ หมายถึงตั้งแต่ 2 ใบขึ้นไปที่เกิดขึ้นก้านใบอันเดียว มีมะขามแขก แคบ้าน ขี้เหล็ก มะขาม เป็นต้น


4. ดอก ส่วนจองดอกเป็นส่วนที่สำคัญของพืชเพื่อเป็นการแพร่พันธุ์ของพืชเป็นลักษณะเด่นพิเศษของต้นไม้แต่ละชนิด ส่วนประกอบของดอกมีความแตกต่างกันตามชนิดของพันธุ์ไม้และลักษณะที่แตกต่างกันนี้เป็นข้อมูลสำคัญในการจำแนกประเภทของ ต้นไม้รูปร่างลักษณะของดอก ดอกจะต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนคือ 1. ก้านดอก 2. กลีบรอง 3. กลีบดอก4. เกสรตัวผู้5. เกสรตัวเมีย


5. ผล ผลคือส่วนหนึ่งของพืชที่เกิดจากการผสมเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียในดอกเดียวกันหรือคนละดอกก็ได้ มีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทและสายพันธุ์รูปร่างลักษณะของผลมีหลายอย่าง ตามชนิดของต้นไม้ที่แตกต่างกัน แบ่งตามลักษณะของการเกิดได้รวม 3 แบบ1. ผลเดี่ยว หมายถึง ผลที่เกิดจากรังไข่อันเดียวกัน2. ผลกลุ่ม หมายถึง ผลที่เกิดจากปลายช่อของรังไข่ในดอกเดียวกัน เช่น น้อยหน่า3. ผลรวม หมายถึง ผลที่เกิดมาจากดอกหลายดอก เช่น สับปะรด มีการแบ่งผลออกเป็น 3 ลักษณะคือ1. ผลเนื้อ2. ผลแห้งชนิดแตก3. ผลแห้งชนิดไม่แตก



แบคทีเรียที่ทำให้อาหารเป็นพิษ

โรคอาหารเป็นพิษ (Food poisioning): โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ




ภาพ Bacillus cereus

โรคอาหารเป็นพิษ เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีสิ่งปนเปื้อน ได้แก่สารพิษหรือท็อกซิน (Toxin) ที่แบคทีเรียสร้างไว้ในอาหาร สารเคมีต่างๆ เช่น โลหะหนัก สารหรือวัตถุมีพิษซึ่งพบในพืชและสัตว์เช่น เห็ด ปลา หอย และอาหารทะเลต่างๆ รวมทั้งกลุ่มเชื้อโรคที่มีการสร้างสารพิษในสำไส้ ได้แก่ Staphylococcus aureus, Bacillus cereus, Clostridium perfringens Vibrio parahemolyticus และ Clostridium botulinum เป็นต้น
1) อาหารเป็นพิษจาก Bacillus cereus
สาเหตุ จากพิษในลำไส้ (enterotoxin) ของ Bacillus cereus
ระยะฟักตัว ชนิดอาเจียนอย่างเดียว 1-6 ชั่วโมง, ชนิดอุจจาระร่วง 6-16 ชั่วโมง
การแพร่เชื้อ ข้าว ผัก และเนื้อสัตว์ที่ปนเปื้อนสปอร์จากดิน และเก็บไว้ที่อุณหภูมิหลังปรุงแล้วทำให้แบคทีเรียมีโอกาสแบ่งตัว ไม่พบการแพร่จากคนสู่คน
อาการและอาการแสดง อาการเกิดทันทีทันใด,อาเจียนอย่างเดียว (พิษทนร้อน) หรือ อุจจาระร่วงและปวดท้อง (พิษไม่ทนร้อน) มักไม่เสียชีวิต
2) Botulism
สาเหตุ จากพิษที่ขับออกมาจากเชื้อแบคทีเรีย Clostridium botulinum
ระยะฟักตัว 12-36 ชั่วโมง หรือหลายวัน
การแพร่เชื้อ ผักและผลไม้ที่อัดกระป๋องเองที่บ้านปนเปื้อนสปอร์ในดิน, เนื้อหรือปลารมควัน หรือที่ถนอมอาหารด้วยวิธีอื่น ไม่พบการแพร่จากคนสู่คน
อาการและอาการแสดง อาการฉับพลัน, เห็นภาพซ้อน,ปากคอแห้ง, เจ็บคอ, อาเจียน,อุจจาระร่วง เส้นประสาท Cranial อัมพาต แล้วลามลงส่วนล่างของร่างกาย และการหายใจล้มเหลว
3) อาหารเป็นพิษจากเชื้อ Clostridium botulinum
สาเหตุ เกิดจากพิษที่สร้างโดยเชื้อแบซิลลัสที่ไม่ต้องการอากาศ Clostridium perfringens
ระยะฟักตัว 6-24 ชั่วโมง ปกติ 10-12 ชั่วโมง
การแพร่เชื้อ เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่งวง และเนื้อไก่ปนเปื้อนอุจจาระ หรือดินที่มี สปอร์ และเจริญเติบโตขณะกำลังปรุงอาหาร ด้วยความร้อนปานกลางและตอนที่อุ่นให้ร้อน ไม่พบการแพร่จากคนสู่คน
อาการและอาการแสดง ทัยป์ A : ปวดท้อง อุจจาระร่วง อาการไม่รุนแรง ทัยป์ C : ลำไส้ตาย (necrotizing enteritis) มักไม่รอดชีวิต
4) อาหารเป็นพิษจากเชื้อ Staphylococcus
สาเหตุ จากเชื้อ Staphylococcus aureus
ระยะฟักตัว 1-6 ชั่วโมง ปกติ 2-4 ชั่วโมง
การแพร่เชื้อ อาหารที่ผ่านการปรุงการผลิตโดยผู้ที่เป็นพาหะ Staphylococcus เช่น ติดจากมือ ตา น้ำมูก หรือผิวหนังที่ติดเชื้อ,แฮม,เนื้ออัด,นมจากวัวที่เต้าอักเสบติดเชื้อ ไม่พบการแพร่จากคนสู่คน
อาการและอาการแสดง อาการรุนแรงมาก, คลื่นไส้อาเจียนอย่างหนัก,ปวดท้อง,อุจจาระเป็นพิษ,หมดแรง,ความดันโลหิตต่ำ,อาจมีหรือไม่มีไข้ต่ำๆ อาการเกิดเป็นระยะสั้น อัตราตายจากโรคน้อยมาก
5) อาหารเป็นพิษจาก Vibrio parahaemolyticus
สาเหตุ จากเชื้อแบคทีเรียชื่อ Vibrio parahaemolyticus
ระยะฟักตัว 4-9 ชั่วโมง ปกติ 12-24 ชั่วโมง
การแพร่เชื้อ อาหารทะเลสดหรือปรุงสุกไม่ทั่ว (เชื้อนี้ทนอุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส ได้นาน 15 นาที) ไม่พบการแพร่เชื้อจากคนสู่คน
อาการและอาการแสดง อาการอุจจาระร่วงเป็นน้ำ, ปวดท้อง และอาเจียน
6) อาหารเป็นพิษจากเชื้ออื่นๆ
อาหารเป็นพิษจากเชื้ออื่นๆ รวมถึงการปนเปื้อนสารเคมี หรือสารอินทรีย์อื่นๆ ที่อาจจะปรากฏในอาหารบางอย่าง เช่น เห็ด, ปลา, หอย, ผลไม้ และผักหลายชนิด พิษจากเห็ดอาจจะเกิดจาก muscarine (อาการที่เกิดขึ้นภายใน 2-3 นาที ไปจนถึง 2 ชั่วโมง น้ำลายไหล, เหงื่อออก, อาเจียน, ปวดบิดในท้อง, อุจจาระร่วง, สับสน, โคม่า) หรือ phallolidine (อาการเกิด 6-24 ชั่วโมง อาการของทางเดินอาหารร่วมกับอาการไม่มีปัสสาวะ, ตัวเหลืองตาเหลือง, ตับถูกทำลาย) พิษจากเห็ดทั้งสองชนิดรักษาให้รอดชีวิตยากในกลุ่มพิษหลายชนิดจากปลา อาการ icthyosarcotoxism จาก ciguatera เพราะไปกินปลาที่มีพิษสร้างจาก dinoflagellates ในน้ำทะเลใกล้ปะการังริมไหล่ทะเลเขตร้อน หลังจาก ½ - 4 ชั่วโมงจะเกิดการระบาดจากแหล่งเชื้อโรครวมเริ่มด้วยคันยุบๆยิบๆ รอบปาก, อาเจียน,อุจจาระร่วง, ปวดเจ็บทั่วตัว, ไข้, ไม่มีเรี่ยวแรง, อัมพาต พิษจากหอยสองฝาและหอยฝาเดียวที่กิน dinoflagellates มีพิษอาจจะเกิดอาการคล้ายกัน 5-30 นาทีหลังกินหอยนางรมบางชนิดทำให้เกิดอาการของโรคทางเดินอาหาร เลือดไหล และการทำงานของตับไม่ปกติ เกิดหลังกิน 24-48 ชั่วโมง และมักไม่ค่อยรอดชีวิต พิษจากสารเคมีเป็นผลมาจากมีพิษของยาฆ่าแมลงอยู่บนผักและผลไม้หรือใช้เครื่องครัวที่เคลือบตะกั่ว ฯลฯ
คำแนะนำสำหรับประชาชน โรคอุจจาระร่วง หรือ โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ทั้งหมดเป็นโรคที่ประชาชนสามารถป้องกันได้ด้วยการกันดูแลสุขอนามัยในการรับประทานอาหาร การเก็บอาหาร และการปรุงอาหาร รวมทั้งล้างมือหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้งองค์การอนามัยโลกได้กำหนดกฎทอง 10 ประการ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคอุจจาระร่วง คือ 1. เลือกอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตอย่างปลอดภัย เช่น เลือกนมที่ผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรซ์ ผักผลไม้ควรล้างด้วยน้ำปริมาณมากๆ ให้สะอาดทั่วถึง 2. ปรุงอาหารให้สุกทั่วถึงก่อนรับประทาน 3. รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ 4. หากมีความจำเป็นต้องเก็บอาหารที่ปรุงสุกไว้นานกว่า 4-5 ชั่วโมง ควรเก็บไว้ในตู้เย็นส่วนอาหารสำหรับทารกนั้นไม่ควรเก็บไว้ข้ามมื้อ 5. ก่อนที่จะนำอาหารมารับประทานความอุ่นให้ร้อน 6. ไม่นำอาหารที่ปรุงสุกแล้วมาปนกับอาหารดิบอีก เพราะอาหารที่สุกอาจปนเปื้อนเชื้อโรคได้ 7. ล้างมือให้สะอาด ไม่ว่าจะเป็นก่อนการปรุงอาหาร ก่อนรับประทาน และโดยเฉพาะหลังการเข้าห้องน้ำ 8. ดูแลความสะอาดของพื้นที่สำหรับเตรียมอาหาร ล้างทำความสะอาดหลังการใช้ทุกครั้ง 9. เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากแมลง หนู หรือสัตว์อื่นๆ 10. ใช้น้ำสะอาดในการปรุงอาหาร และควรระวังเป็นพิเศษในการใช้น้ำเพื่อเตรียมอาหารเด็กทารกได้
กฎ 3 ข้อ ขององค์การนามัยโลก อย่างไรก็ตามเมื่อประชาชนหรือเด็กในครอบครัวมีอาการของโรคอุจจาระร่วงก็สามารถเริ่มต้นรักษาได้ที่บ้านโดยใช้กฎ 3 ข้อ ขององค์การนามัยโลก 1. ให้สารน้ำละลายเกลือแร่โอ อาร์ เอส หรือ ของเหลวมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ 2. ให้อาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก หรือน้ำข้าว หรือแกงจืด ไม่งดอาหาร เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร 3. เมื่ออาการโรคอุจจาระร่วงไม่ดีขึ้นก็ควรไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือแพทย์ได้แก่ - ถ่ายเป็นน้ำมากขึ้น - อาเจียนบ่อย กินอาหารไม่ได้ - กระหายน้ำกว่าปกติ - มีไข้สูง - ถ่ายอุจจาระเป็นมูกหรือปนเลือด วัคซีนป้องกันโรค สำหรับวัคซีนป้องกันโรคนั้นปัจจุบันมี 1. วัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วงอย่างแรงชนิดกิน 2. วัคซีนป้องกันโรคไข้ทัยฟอยด์ชนิดกิน การให้วัคซีนใช้เฉพาะคนที่เลี่ยงต่อการเกิดโรคเท่านั้น เช่น จะเดินทางไปในพื้นที่เกิดโรคเป็นประจำ หรือสมาชิกในครอบครัวเป็นพาหะเชื้อไข้ทัยฟอยด์ ส่วนวัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วงอย่างแรงประสิทธิภาพของวัคซีน และระยะเวลาของภูมิคุ้มกันอยู่ในระยะสั้น

http://blog.eduzones.com/pingpong/3795

โรคอาหารเป็นพิษ สาเหตุสำคัญเกิดจากเชื้อแบคทีเรียปนเปื้อนในอาหารที่ปรุงสุกๆดิบๆ เช่น เนื้อไก่, หมู, วัว, ไข่เป็ด, ไข่ไก่, อาหารกระป๋อง, อาหารทะเล และน้ำนมที่ยังไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ อาหารไม่ได้แช่เย็น และไม่ได้อุ่นก่อนรับประทาน ความรุนแรงของโรคขึ้นอยู่กับปริมาณของเชื้อ และสารพิษที่ขับออกมา เชื้อโรคสามารถแบ่งตัวเพิ่มจำนวน และผลิตสารพิษได้อย่างรวดเร็ว

เชื้อโรคที่เป็นสาเหตุสำคัญ
1. Vibrio parahaemolyticus
- แบคทีเรียที่เจริญได้ดีในอาหารและน้ำเค็มร้อยละ 2 – 8 มีมากตามชายฝั่งทะเล หลังรับเชื้อประมาณ 10 – 20 ซ.ม. เชื้อจะเพิ่มจำนวนเท่าตัวทุกๆ 12 – 15 นาที ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เชื้อจะสร้างสารพิษในลำไส้ เชื้อจะถูกทำลายที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส ในเวลา 15 นาที

2. Salmonella
- เชื้อแบคทีเรียติดมากับเนื้อสัตว์ เป็ด, ไก่, นก, และสถานที่เลี้ยงสัตว์ ตลอดจนอาหารเลี้ยงสัตว์ ทำให้เกิดการระบาดของ โรคอาหารเป็นพิษขึ้น ทั้งคนและสัตว์อยู่บ่อยๆ

3 Stapylococcus aureus
- เชื้อแบคทีเรีย อยู่ตามผิวหนัง, จมูก, มือ และส่วนต่างๆ ของร่างกาย สร้างสารพิษเรียกว่า ทอคซิน ( Toxin ) ทำให้เกิด อาการท้องเสีย อาเจียนในเวลาอันรวดเร็ว ( 2-3 ชั่วโมง )
- พบในอาหารที่สัมผัสด้วยมือ ทิ้งไว้ไม่แช่เย็นไม่ได้อุ่นก่อนรับประทาน เช่น เนื้อสัตว์และพวกครีมต่างๆ เชื้อจะถูกทำลาย ที่อุณหภูมิ 72 องศาเซลเซียส ในเวลา 15 นาที

4. แบคทีเรียที่สร้างสปอร์ มี 3 ชนิด
4.1 Colstridium perfringens (เจริญในสภาพที่ไม่มีอากาศ)
4.2 Bacillus cereus (เจริญในสภาพที่มีอากาศ) แบคทีเรียทั้ง 2 ชนิดนี้ สร้างสปอร์ ซึ่งทน
ความร้อนได้ดี อาหารที่ทำสุกแล้วทิ้งไว้จนเย็น เป็นเวลาที่เชื้อเจริญผ่านสปอร์ขึ้นมา ควรเก็บอาหารไว้ในตู้เย็น แหล่งโรคคือ ดิน ฝุ่นละอองต่างๆ ตลอดจนอุจจาระของคน
และสัตว์
4.3 Clostridium botulinum แบคทีเรียที่เจริญในสภาพไม่มีอากาศอีกชนิดหนึ่ง
ที่สร้างสปอร์สารพิษเชื้อชนิดนี้มีความรุนแรงมาก เพราะทำให้เกิดอาการทางประสาท จนถึงตายได้ เชื้อเจริญในอาหาร โปรตีน มีความเป็นกรดเป็นด่างพอดี ได้แก่ พวกเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะบรรจุกระป่อง
อาการสำคัญ
- อุจจาระร่วง, คลื่นไส้, อาเจียน, ปวดท้องเนื่องจากเชื้อโรคทำให้เกิดการอักเสบของลำไส้
- มีไข้, ปวดศีรษะ, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามตัว
- รายที่ท้องเสียมากๆ เกิดอาการขาดน้ำและเกลือแร่
- รายที่อาการรุนแรงเนื่องจากการติดเชื้อ เกิดการอักเสบที่อวัยวะต่างๆ เช่น ข้อ, กระดูก ถุงน้ำดี, กล้ามเนื้อ, หัวใจ, ปอด, ไต,
เยื่อหุ้มสมองและเมื่อเข้าสู่กระแสโลหิตจะทำให้เกิดโลหิตเป็นพิษ ทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเด็กทารก, เด็กเล็กและผู้สูงอายุ

การวินิจฉัย
- นำอุจจาระของผู้ป่วยมาทำการเพาะเชื้อใช้เวลาประมาณ 3 วัน

การรักษา
- ควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ หรืออาหารเหลวอ่อนย่อยง่าย, แกงจืด, ผลไม้, โจ๊กหรือข้าวต้ม, ปลา,เนื้อสัตว์ต้มเปื่อย
- ให้ดื่มสารละลายเกลือแร่ (ORS) ทุกครั้งที่ถ่ายเหลว
- เด็กที่ยังกินนมอยู่ ให้ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่สลับกันไป
- ผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้น ถ่ายเป็นน้ำมาก อาเจียนบ่อย กระหายน้ำ ตาลึกโหล กินอาหารหรือดื่มน้ำไม่ได้ มีไข้ถ่ายเป็นมูกมีเลือด ปน ให้ส่งต่อสถานบริการสาธารณสุข
- ไม่จำเป็นต้องกินยาหยุดถ่าย เพราะการถ่ายอุจจาระเป็นกลไกของร่างกายที่ขับของเสีย สารพิษ และเชื้อโรคออกจากร่างกาย
- การใช้ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อ ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ และใช้ในรายที่เป็นบิด ถ่ายเป็นมูกมีเลือดปนอุจจาระร่วงอย่างแรง หรือมีอาการอื่นแทรกซ้อน เนื่องจากอาจกระตุ้นให้แพ้ยา หรือดื้อยาได้

การป้องกัน
- ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดทุกครั้ง ก่อนปรุงหรือรับประทานอาหารและ หลังเข้าห้องส้วมทุกครั้ง
- ประทานอาหารที่สะอาด สุกใหม่ๆ ไม่รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ และมีแมลงวันตอม
- ผักสดหรือผลไม้ควรล้างให้สะอาดด้วยน้ำผสมคลอรีนหรือด่างทับทิม
- กำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและ ถ่ายอุจจาระลงในส้วม
- ผู้ประกอบอาหาร พนักงานเสริฟ ควรหมั่นล้างมือและรักษาความสะอาด ภาชนะ อุปกรณ์เครื่องใช้ในการประกอบอาหาร หากมีอาการอุจจาระร่วง ควรหยุดปฏิบัติงานจนกว่าจะหายหรือตรวจไม่พบเชื้อ
แหล่งข้อมูล กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เชื้อแบคทีเรีย โรงพยาบาลพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
สารปรุงแต่งอาหาร
สารปรุงแต่งอาหาร หมายถึง สารปรุงรสและวัตถุเจือปนในอาหารที่นำมาใช้เพื่อปรุงแต่งสี กลิ่น รส และคุณสมบัติอื่น ๆ ของอาหาร มีอยู่ 3 ประเภท
1. ประเภทที่ไม่เป็นอันตรายแก่ร่างกาย ได้แก่
1.1 สีต่าง ๆ ที่ใช้ผสมอาหาร ซึ่งเป็นสีธรรมชาติ ได้แก่ สีเขียว จากใบเตยหอม พริกเขียว สีเหลือง จากขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ลูกตาลยี ไข่แดง ฟักทอง ดอกคำฝอย เมล็ดคำแสด สีแดง จากดอกกระเจี๊ยบ มะเขือเทศ พริกแดง ถั่วแดง ครั่ง สีน้ำเงิน จากดอกอัญชัญ สีดำ จากกากมะพร้าวเผา ถั่วดำ ดอกดิน สีน้ำตาล จากน้ำตาลเคี่ยวไหม้ หรือคาราเมล 1.2 สารเคมีบางประเภท ได้แก่ 1.2.1 สารเคมีประเภทให้รสหวาน เช่น น้ำตาลทราย กลูโคส แบะแซ 1.2.2 สารเคมีบางประเภทให้รสเปรี้ยวในอาหาร เช่น กรดอะซีติก (กรดน้ำส้ม) กรดซิตริก (กรดมะนาว) 1.2.3 สารเคมีที่เป็นสารแต่งกลิ่น เช่น น้ำนมแมว หรือหัวน้ำหอมจากผลไม้ต่าง ๆ
2. ประเภทที่อาจเกิดอันตรายหากใช้เกินขอบเขต
2.1 สีผสมอาหาร ได้จากการสังเคราะห์สารเคมี แม้กฏหมายกำหนดให้ใช้สีสังเคราะห์สำหรับผสมอาหารได้ แต่หากใช้ใน ปริมาณมากและบ่อยก็อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภคได้ ปริมาณสีที่อนุญาตให้ใช้ผสมในอาหารประเภทเครื่องดื่ม ไอศกรีม ลูกกวาด และขนมหวาน มีดังนี้
2.1.1 สีที่ใช้ได้ปริมาณไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่ใช้บริโภค 1 กิโลกรัม สีแดง ได้แก่ เอโซรูบีน เออริโทรซิน สีเหลือง ได้แก่ ตาร์ตราซีน ซันเซ็ตเย็ลโลว์ เอ็ฟ ซี เอ็ฟ สีเขียว ได้แก่ ฟาสต์ กรีน เอ็ฟ ซี เอ็ฟ สีน้ำเงิน ได้แก่ อินดิโกคาร์มีนหรืออินดิโกติน
2.1.2 สีที่ใช้ได้ปริมาณไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารในลักษณะที่ใช้บริโภค 1กิโลกรัม สีแดง ได้แก่ ปองโซ 4 อาร์ สีน้ำเงิน ได้แก่ บริลเลียนบลู เอ็ฟ ซี เอ็ฟ
2.2 ผงชูรส เป็นสารปรุงแต่งรสอาหาร มีชื่อทางเคมีว่า โมโนโซเดียมกลูตาเมท ผลิตจากแป้งมันสำปะหลัง หรือ จากกากน้ำตาล ลักษณะของผงชูรสแท้จะเป็นเกล็ดหรือผลึกสีขาวขุ่น ปลายทั้ง 2 ข้างโตและมัน ตรงกลางคอดเล็กคล้ายกระดูก ไม่มีความวาวแบบสะท้อนแสง มีรสชาติคล้ายเนื้อต้ม ปริมาณที่ใช้ควรเพียงเล็กน้อย ถ้าบริโภคมากเกินไปอาจมีอาการแพ้ผงชูรสได้ ควรใช้ผงชูรสประมาณ 1/500-1/800 ส่วนของอาหารหรือประมาณ 1 ช้อนชาต่ออาหาร 10 ถ้วยตวง และไม่ควรใช้ผงชูรส ในอาหารทารกและหญิงมีครรภ์
2.3 สารเคมีที่ใช้กันเสียกันบูด เป็นสารประกอบทางเคมีหรือของผสมของสารประกอบที่ใช้เติมลงในอาหาร เพื่อชะลอ การเน่าเสียหรือยืดอายุการเก็บอาหาร โดยจะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และส่วนประกอบของเอนไซม์ ซึ่งทำให้การเจริญ เติบโตของจุลินทรีย์หยุดชะงักหรือตายได้ นอกจากนี้ยังมีผลต่อการแบ่งเซลล์ยับยั้งการสังเคราะห์ของโปรตีน ทำให้ขบวนการแบ่ง เซลล์หยุดชะงัก จำนวนจุลินทรีย์จะไม่เพิ่มขึ้น การใช้วัตถุกันเสีย ไม่จำเป็นก็ไม่ควรใช้ กรณีที่จำเป็นต้องใช้ควรเลือกวัตถุกันเสีย ที่ปลอดภัยและใช้ในปริมาณที่กฏหมายกำหนด รวมทั้งต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของอาหาร
3. ประเภทเป็นพิษไม่ปลอดภัย เป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ปัจจุบันได้มีการใช้สารเคมีต่าง ๆ ปรุงแต่งอาหารเพื่อให้อาหารน่ารับประทานเก็บได้นานรวมทั้งราคาถูก และจากการ ตรวจสอบของหน่วยงานของรัฐพบว่า มีการใช้สารเคมีที่กฏหมายห้ามใช้ในการปรุงแต่งในอาหาร ซึ่งทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ บริโภคถึงชีวิตได้
ตัวอย่างอันตรายจากสารเคมีที่ห้ามใช้ในการปรุงแต่งอาหาร
ชื่อสาร
จุดประสงค์ของการใช้
อันตรายที่ได้รับ
น้ำประสานทอง (บอแรกซ์ ผงกรอบ เม่งแซ เพ่งแซ)
ทำลูกชิ้นให้กรอบ ทำให้แป้งมีลักษณะกรุบ (ในเต้าทึง)ทำหมูยอให้กรอบ ปนปลอมในผงชูรส (ซึ่งสังเกตลักษณะได้โดยเกล็ดคล้ายแผ่นเศษกระจกอาจเป็น ก้อนเล็กสีขาว)
เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหาร ระบบสมอง ซึ่งอาจทำให้มีอาการ คล้ายเยื่อหุ้มสมองอักเสบและที่รุนแรงมาก คือเป็นอันตรายต่อไตจะทำให้เกิดไตพิการและตายได้ถ้าได้รับสารนี้ ในปริมาณมากและเป็นเวลานาน
โซเดียมเบตา ฟอสเฟต ปนปลอมในผงชูรสสังเกตลักษณะได้ โดยเกล็ดจะมีลักษณะหัวท้ายมน บางกว่า ใสเป็นมันคล้ายกระจก ทำให้ท้องร่วง
สีย้อมผ้า ผสมอาหารทำให้มีสีสวยงาม
โรคกระเพาะอาหารและลำใส้และเป็นสาเหตุการเกิดโรคมะเร็ง เช่นมะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
กรดซาลิไซลิคสารกันบูด
เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินอาหารอย่างมาก โดยอาจทำให้เกิดแผลใน กระเพาะอาหาร เป็นพิษต่อระบบประสาทหรือมีอาการแพ้เป็นแผล ตามตัว
โซเดียมคาร์บอเนต(โซดาซักผ้า)ทำให้เนื้อนุ่ม กัดเยื่อบุอ่อนของระบบทางเดินอาหาร เกิดอาการคลื่นใส้อาเจียน ท้องร่วงอาจรุนแรงถึงตายได้
สารพิษในอาหาร
สารพิษในอาหาร แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
1. สารพิษที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ในส่วนประกอบของอาหารซึ่งจะพบอยู่ในพืชและสัตว์ สิ่งเหล่านี้จะมีโทษต่อมนุษย์ก็ด้วย
ความไม่รู้ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไปเก็บเอาอาหารที่เป็นพิษมาบริโภค เช่น พิษจากเห็ดบางชนิด ลูกเนียง แมงดาทะเลเป็นพิษ
สารพิษในหัวมันสำปะหลังดิบ เป็นต้น
2. สารพิษที่เกิดจากการปนเปื้อนในอาหารตามธรรมชาติ ซึ่งแบ่งเป็น
2.1 สารพิษที่มาจากจุลินทรีย์ซึ่งมี 2 ประเภทใหญ่ คือ อันตรายที่เกิดจากตัวจุลินทรีย์และอันตรายที่เกิดจากสารพิษที่
จุลินทรีย์สร้างขึ้น
จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดพิษเนื่องจากตัวของมันเอง มีอยู่ 5 พวก ได้แก่
1. แบคทีเรีย เช่น Salmonella Shigella Vibrio
2. รา เช่น Aspergillus Penicillin fusarum Rhizopus
3. โปรโตซัว เช่น Entamoeba histolytica
4. พาราสิต เช่น Trichinosis Tapeworms
5. ไวรัส เช่น Poliovirus Hepatitis Virus
จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดพิษภัยอันเนื่องมาจากสารพิษที่สร้างขึ้นในขณะที่จุลินทรีย์นั้นเจริญเติบโตแล้วปล่อยทิ้งไว้ในอาหาร มีทั้ง
สารพิษของแบคทีเรีย และของเชื้อรา สารพิษที่สำคัญที่พบ ได้แก่สารพิษที่เกิดจาก Clostridium botulinum เป็นจุลินทรีย์ที่เป็น
สาเหตุให้เกิดพิษในอาหารกระป๋องและสารพิษจากเชื้อรา ที่เรียกว่า Alflatoxin มักจะพบในพืชตะกูลถั่ว โดยเฉพาะถั่วลิสงและ
ผลิตภัณฑ์จากถั่วลิสง ได้แก่ ถั่วกระจก ขนมตุ๊บตั๊บ น้ำมัน ถั่วลิสง เป็นต้น
3. พิษที่เกิดจากสารเคมี ซึ่งปะปนมากับอาหาร ได้แก่ สารหนู และโซเดียมฟลูออไรด์ ที่มีอยู่ในยาฆ่าแมลง หรือยาฆ่า
วัชพืชต่าง ๆ สำหรับยาฆ่าแมลงซึ่งใช้มากเกินไปหรือเก็บพืชผลเร็วกว่ากำหนดเมื่อกินผักผลไม้เข้าไปจะทำให้ร่างกายสะสมพิษ
และเป็นสาเหตุทำให้เกิดมะเร็งได้ สำหรับพิษจากสารปลอมปนและสารปรุงแต่งอาหารได้กล่าวแล้ว

ขอบคุณที่มาจาก http://edtech.kku.ac.th/~s49321275011/495050331-6/sc31-8-5.htm

คำแนะนำ

โภชนาการกับสุขภาพ


การที่คนเราจะมีสุขภาพดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง ซึ่งที่ส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้การควบคุมของคนเรานั่นเอง ส่วนที่นอกเหนือการควบคุมมีน้อย เช่นกรรมพันธุ์ ดังนั้นถ้าเราควบคุมปัจจัยต่างๆได้เช่น การเลี้ยงดูตั้งแต่เด็ก การดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องคนส่วนใหญ่ช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อม ในครอบครัวมีความสงบสุขดีคือมีสุขภาพจิตดี และสิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การเอาใจใส่เรื่องโภชนาการ ถ้าเราควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้หมด สุขภาพดีถ้วนหน้า คงจะไม่เกินความเป็นจริง
โภชนาการ หมายถึงอาหารที่เรารับประทานเข้าไป แล้วร่างกายนำเอาไปใช้ เพื่อการทำหน้าที่อย่างสม่ำเสมอของอวัยวะที่สำคัญ เช่น หัวใจ ปอด เป็นต้น นอกจากนี้ยังนำไปใช้เพื่อสร้างความเจริญเติบโตของร่างกาย การซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย เราสามารถแบ่งอาหารออกเป็นประเภท โดยอาศัยหลักทางโภชนาการ ได้เป็น 6 ประเภท คือโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน เกลือแร่และน้ำ ซึ่งทั้ง 6 ประเภทมีส่วนสำคัญต่อการทำงานของร่างกายไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน โดยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน เมื่อรับประทานเข้าไปร่างกายจะเผาผลาญทำให้เกิดพลังงานได้ ส่วนพวกวิตามินเกลือแร่และน้ำ จะเป็นองค์ประกอบที่มีความสำคัญในการทำให้วงจรการทำงานต่างๆของร่างกาย ดำเนินต่อไปได้เป็นปกติ ดังนั้นเราทุกคนถ้าหวังที่จะให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดี ควรจะต้องสนใจที่จะเรียนรู้ และปฏิบัติตามวิธีการรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ ไม่มีใครมาช่วยท่านได้ ถ้าท่านไม่ลงมือปฏิบัติเอง

อาหารสำหรับผู้ป่วย

อาหารสำหรับผู้ป่วย


หลาย ๆ ท่านคงเคยประสบปัญหาที่ว่ารับประทานอาหารน้อยลง แต่ทำไม่ความอ้วนถึงไม่ค่อยจะยอมลดลงสักเท่าไร ทั้ง ๆ ที่กิจกรรมต่าง ๆ ในการดำรงชีวิตก็แทบไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเลย อีกทั้งสุขภาพโดยรวมกลับจะแย่ลงด้วยซ้ำ ทั้งโรคในระบบหลอดเลือด และหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดหัวใจตีบตัน เป็นต้น
ลองศึกษาในเรื่องประเภทของอาหารต่าง ๆ ทั้ง 5 หมู่ คือ คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เกลือแร่ และวิตามิน ที่รับประทานดูว่าเหมาะสมหรือไม่กับสุขภาพโดยรวมของท่านแล้วหรือยัง

http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/5-4/no01/ill.html